หน้าแรก วัด วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

โดย Pim
wat chedi luang worawihan

สวัสดีเพื่อน ๆรักเที่ยว วันนี้รักเที่ยวจะพาเพื่อนๆเข้าวัด เที่ยวชมปูชนียสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ วัดที่เราจะไปเที่ยวชมกันในวันนี้ก็คือ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่  สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่มาเที่ยวเมืองเชียงใหม่ สนใจจะไปเที่ยวชมวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตามรักเที่ยวมาเลยคะ

wat chedi luang worawihan

วัดเจดีย์หลวงวรวิหารเป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจมากมายให้เราได้ศึกษา  ด้วยเหตุนี้เองจึงมีพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจากหลายประเทศ หลั่งไหลเข้ามากราบไหว้บูชา และมาทัศนศึกษาเพื่อสัมผัสกับศิลปสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ซึ่งเป็นมรดกทรัพย์สินทางศรัทธาของชาวล้านนา นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นงานบุญต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งงานศพ

ประวัติและความเป็นมา วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

wat chedi luang worawihan
wat chedi luang worawihan
ก่อนที่จะไปเที่ยวชมในแต่ละจุดสำคัญต่างๆของวัด มาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาวัดเจดีย์หลวงกันก่อนนะคะ วัดเจดีย์หลวง สร้างในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมารัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์มังราย ( ครองราชย์ พ.ศ. 1929-1944 ) ไม่ปรากฏปีที่สร้างวัดแน่ชัด วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณที่แบ่งเขตเป็นพุทธาวาส 1 สังฆาวาสอีก 4 ที่ตั้งรายล้อมเขตพุทธาวาสหรือคณะ ต่างคนต่างทำในวิหารของตนถ้าเป็นงานสำคัญๆ จึงจะร่วมกันในวิหารหลวงและประกอบสังฆกรรม อันเป็นสังฆกิจร่วมกันในพระอุโบสถ ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวในเขตพุทธาวาสที่ได้ชื่ว่า “วัดเจดีย์หลวง” ตั้งแต่โบราณกาลมา เพราะถือเอาพระธาตุเจดีย์หลวงเป็นเนมิตกนาม (คำว่า หลวง=ใหญ่) กล่าวได้ว่าเป็นเจติยสถาน โบราณสูงใหญ่ที่สุดของภาคเหนือ

ในช่วงพุทธศักราช 2471-2481 ถือได้ว่าเป็นทศวรรษการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาใหม่ในทุกๆด้านของวัดเจดีย์หลวง ทำการรื้อถอนสิ่งปรักหักพัง แผ้วถางป่าที่ขึ้นคลุมเสนาสนะโบราณสถานต่างๆออก แล้วสร้างเสริมเสนาสนะใหม่ให้เป็นวัดสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา จนมีพระสงฆ์และสามเณรอยู่ประจำ ปีละมากๆ หลังจากถูกทิ้งมานาน และได้จัดตั้งสำนักเรียน พระปริยัติธรรมขึ้น ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาแผนใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการมองการณ์ไกล และผลงานที่เป้นรูปธรรมดังกล่าว จึงทำให้วัดเจดียืหลวงได้เลื่นฐานะขึ้นเป็น “พระอารามหลวงชั้นตรี” ชนิด “วรวิหาร” เป็น “วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร” เมื่อปีพุทธศักราช 2481 เป็นต้นมา

สถานที่สำคัญในวัดเจดีย์หลวง

wat chedi luang worawihan
wat chedi luang worawihan

  1. พระวิหารหลวง เป็นสถาปัตยกรรมลล้านนาประยุกต์สร้างครั้งแรกโดยพระนางติดลกะจุดา (ฑา) พระราชมารดาของพระเจ้าสามหฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ. 1955
  2. พระอัฏฐารส พระพุทธปฎิมาประธานในพระวิหารหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริดปางห้ามญาติ สูง8.23 เมตร พร้อมทั้งพระอัครสาวก
  3. พระธาตุเจดีย์หลวง เป็นพระเจดีย์เก่าแก่อายุกว่า 600 ปี สูงที่สุดในอาณาจักรล้านนาไทยและประเทศไทย สร้างครั้งแรกในปีพ.ศ. 1934 สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์รัชกาลที่7 แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ. 1929-1944)
  4. บ่อเปิง บ่อน้ำใหญ่/ลึก ก่ออิฐกันดินพังไว้อย่างดี อยู่ห่างจากพระเจดีย์ไปทางทิศใต้ 57.75 เมตร บ่อเปิงขุดมาเพื่อนำน้ำมาใช้ในการสร้างพระธาตุเจดีย์หลวง สมัยพระเจ้าติโลกราช ทรงสร้างเสริมพระธาตุเจดีย์หลวง พ.ศ. 2022-1024
  5. ต้นยางใหญ่ ในวัดเจดีย์หลวงมีต้นยางใหญ่ 3 ต้น อายุกว่า 200ปี ปลูกสมัยพระเจ้ากาวิละ ต้นหนึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างวิหารอิลทขีล-ศาลกุมภัณฑ์ด้านหน้าวัด
  6. เจดีย์บูรพาจารย์ เป็นที่บรรจุอัฐิธาตุอดีตเจ้าอาวาสและบูรพาจารย์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวัดเจดีย์หลวง สมโภช ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2554
  7. วิหารหลวงปู่มั่น เป็นวิหารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานบุษษกบบรรจุอัฐิธาตุ/ฟันกราม และรูปเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริตตโตล้านนายุคสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทำพิธีถวายวันที่ 7 พฤศจิกายน 2546
  8. วิหารจตุรมุขบูรพาจารย์ เป็นปูชนียสถานประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐิธาตุของบูรพาจารย์ สมโภชถวาย วันที่13-14 มกราคม 2549
  9. พระนอน หรือพระพุทธไสยาส เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่กับพระเจดีย์ แต่ไม่ปรากฏว่าใครสร้างเมื่อใด สร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ปิดทอง
  10. โบสถ์เก่า เป็นสถาปัตยกรรมพื้นบ้านล้านนายุคสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่7 มีการบูรณหลายครั้งเพื่อให้คงสภาพเดิมไว้ เนื่องด้วยเป็นหนึ่งในหมวดอุโบสถสำคัญในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณ
  11. หอธรรม/พิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.ลกราชได้สร้างพระวิหารหลงว 2017 พนะเจ้าติโลกราชได้สร้างพระวิหารหลวงใหม่พร้อมทั้งให้สร้างหอธรรม (หอพระไตรปิฎก) ไว้ทางด้านเหนือองค์พระเจดีย์คือ สังฆาวาสหอธรรม หลังปัจจุบันสร้างเมื่อ พ.ศ. 2551
  12. พระมหากัจจายน์ มี2 องค์ องค์ที่1 ประดิษฐานอยู่หลังเจดีย์ติดกับพระนอน องค์ที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็กอยู่ห่างจากเจดีย์ไปทางทิศเหนือ (คณะหอธรรม) 46.27 เมตร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด
  13. กุมภัณฑ์ สร้างขึ้นเพื่อคอยรักษาเสาอินทขิลมีอยู่ 2 ตน 2 ศาลากมีการฝ่า

14. วิหารเสาอินทขีล อินทขีลหรือเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในวิหารอินทขีล สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2343

เพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับเสาอินทขีล (เหตุผลที่สุภาพสตรีห้ามเข้า)

wat chedi luang worawihan
เสาอินทขีลเป็นเสาหลักของเมืองเชียงใหม่ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยโดยเฉพาะชาวเชียงใหม่ให้ความเคารพสักการะ ถือเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจของเมือง ภายใต้ฐานเสาอินทขีล บรรจุเครื่องสักการะไว้เป็นจำนวนมาก จึงมีข้อห้ามสำหรับสตรีไม่ว่าชาติศาสนาใดขึ้นไปบนวิหารอินทขีล เพราะสตรีมีประจำเดือน มีความเชื่อว่าจะเป็นความลบหลู่และทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเสาอินทขีล แม้แต่ผู้ชายที่แต่งตัวไม่สุภาพเรียบร้อยและไม่เคารพ ก็ไมาสมควรขึ้นไปบนวิหารเสาอินทขีล และเชื่อว่าหากมีการฝ่าฝืนจะทำให้บ้านเมืองเกิดเภทภัย

การเดินทางไปวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร

  • รถสองแถวสีแดง ถ้าเดินทางมาถึงในตัวเมืองเชียงใหม่แล้ว สามารถโบกได้ทุกที่ ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับระยะทาง อย่าลืมตกลงราคากันก่อนใช้บริการนะคะ
  • รถส่วนตัว วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ อยู่ไม่ไกลจากวัดพระสิงห์  แลนมาร์ค ถ้าเริ่มจากอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ให้ไปตามถนนพระปกเกล้ามุ่งเข้าสู่เมือง เจอสี่แยกไฟแดงให้ตรงไปอีกประมาณ 50 เมตรวัดอยู่ทางขวามือคะ

เป็นไงกันบ้างคะ ได้อ่านประวัติความเป็นมาของวัดเจดีย์หลวงวรวิหารกันแบบคร่าวๆไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีความรู้สึกอยากเข้าวัดเข้าวากันบ้างหรือยัง อิอิ จริงๆแล้วจังหวัดเชียงใหม่ยังมีวัดเก่าแก่ที่มีประวิติความเป็นมาที่น่าสนใจอีกหลายแห่งเลย หากใครที่มีโอกาสมาเยือนเชียงใหม่ แวะมากราบไหว้และเยี่ยมชมวัดเจดีย์หลวงวรวิหารกันด้วยนะคะ

กิจกรรมที่น่าสนใจ เรียนรู้ความเป็นมาของเชียงใหม่กับทัวร์จักรยานชมเมืองเก่าระยะทาง 11 กม.กับ Traveloka คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

คุณอาจชอบ